Article – BYOD – Bring Your Own Device การนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ที่ออฟฟิศ

Rate this post

ปัจจุบันปรากฎการณ์ที่บริษัทหลายที่อนุญาต หรือสนับสนุนให้พนักงานสามารถเอาอุปกรณ์ส่วนตัวของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น แลปท้อป เน็ตบุ้ค แทปเล็ต และอื่น ๆ มาใช้งานที่บริษัทได้กำลังกระจายไปตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ปรากฎการณ์นี้มีข้อดีในแง่ของความสะดวกของตัวพนักงานเองที่ไม่ต้องถ่ายโอนไฟล์ไปมา และอาจะดีสำหรับบริษัทด้วยที่ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้ออุปกรณ์บางตัวเพิ่มเติม หากพนักงานสะดวกที่จะใช้ของตัวเองมากกว่า แต่ถึงอย่างไรความสะดวกเหล่านี้ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงต่อเครือข่าย และข้อมูลของบริษัท

มีการทำการสุ่มสำรวจการนำอุปกรณ์ของส่วนตัวมาใช้ที่ออฟฟิศจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ติดต่อไป 2,000 คน และได้รับความร่วมมือจากกลุ่มวัยรุ่นผู้มีงานทำในอเมริกาในการตอบคำถาม 1,300 คน พบว่ากว่า 80% ของกลุ่มดังกล่าวใช้อุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ทำงานที่ออฟฟิศ โดยบางส่วนของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเทคโนโลยีรุ่นเก่า เช่น แลปทอป และ PC ตั้งโต๊ะ ในขณะที่สมาร์ทโฟนและแทปเลต (iPhone / iPad, Windows Mobile และ Android) กำลังเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของปรากฎการณ์ BYOD ครั้งนี้

ความเสี่ยงต่อมาอาจจะเรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการใช้งาน เช่น ในกลุ่มตัวอย่างกว่า 30% มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่วนตัวกับ Wi-Fi ที่เปิดให้ใช้ฟรีหรือเปิดให้ใช้ตามสาธารณะ (ซึ่งสามารถแฮกได้!) และอีกส่วนหนึ่งของความเสี่ยงด้านนี้คือการให้คนอื่นยืมอุปกรณ์ส่วนตัวใช้งาน ซึ่งอาจจะเป็นเพียงเพื่อน คนสนิท หรือแม้แต่ครอบครัวก็ได้

แต่ถึงอย่างไรก็จัดเป็นความเสี่ยงอยู่ดี เพราะคนที่ให้ยืมไปนั้นอาจสามารถเข้าถึงข้อมูลความลับของบริษัทที่เก็บไว้ในเครื่อง และยิ่งไปกว่านั้นหากไม่ระวังอาจจะเกิดการติดไวรัสเข้ามาก็เป็นได้

ข้อดี-ข้อเสียของ BYOD
สำหรับการตั้งค่าความปลอดภัยเพื่อเข้าใช้งานอุปกรณ์ส่วนตัวนั้นพบว่า 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีการตั้งค่า auto-lock บนอุปกรณ์ของพวกเขา (นั่นหมายความว่าใครก็ตามที่ตั้งใจขโมย หรือเจอบนแท็กซี่ก็สามารถเปิดใช้งานได้ง่าย ๆ!) และจากการสอบถามเพิ่มเติมยังพบอีกว่า 3% จากในกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลของบริษัทที่เก็บอยู่ในเครื่องไม่มีการเข้ารหัสไว้
ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นความเสี่ยงที่มาจากการป้องกันของบริษัทเอง ที่ถึงแม้จะมีนโยบายสนับสนุนให้พนักงานเอาอุปกรณ์มาใช้ทำงานได้ แต่กลับไม่มีนโยบายเกี่ยวกับระบบรองรับ BYOD นี้สูงถึง 66% เลยทีเดียว และสุดท้ายความเสี่ยงที่มาจากภัยคุกคามโดยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 25% ตกเป็นเหยื่อจากการแฮกและภัยคุกคามต่าง ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *